280 จำนวนผู้เข้าชม |
โดยมีระบบ GPS Tracking สามารถติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถได้แบบเรียลไทม์ สร้างมาตรฐานความปลอดภัยระบบขนส่งสาธารณะอย่างยั่งยืน
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า การควบคุมการใช้งานรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกให้มีความปลอดภัย เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่มีส่วนช่วยในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking ภายใต้โครงการมั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นมา เพื่อให้ภาครัฐ ผู้ประกอบการขนส่ง และประชาชนสามารถติดตามและควบคุมพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถได้แบบเรียลไทม์ สามารถแสดงข้อมูลการติดตามด้วยความแม่นยำสูง ประกอบด้วย การใช้ความเร็ว, เส้นทางที่ใช้, ระยะทาง, ตำแหน่งพิกัดของรถ, ชั่วโมงการขับรถและเวลาหยุดพัก เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารการขนส่งทางบกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดเส้นทางระยะทางการใช้รถ ติดตามพฤติกรรมการขับรถ และควบคุมการใช้ความเร็วที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนการขนส่ง พัฒนาระบบโลจิสติกส์ ลดการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS กรมการขนส่งทางบกทั้งที่ส่วนกลางและศูนย์ฯ GPS ในแต่ละจังหวัด เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดตามรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน DLT GPS
gps รถบรรทุกโดยรถบรรทุกทุกคัน จะต้องมีการติดตั้ง GPS ในรถบรรทุก ให้ถูกกฎหมาย เพราะว่ากรมขนส่งได้มีการออกคำสั่งให้รถบรรทุกทุกคัน มีการติดตั้ง GPS ให้เรียบร้อยพร้อมทั้งต้องมีการรายงานการขับขี่ตลอด โดยระบบสามารถรายงานการขับขี่ที่มีความเร็วเกินกว่าที่กำหนดได้ เมื่อใดที่มีการขับขี่เกินความเร็วที่กำหนด กรมขนส่งก็จะต้องมีการตรวจสอบรถบรรทุกนั้นเสมอ พร้อมทั้งต้องมีการรายงานหากมีการขับรถเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด
และหากมีการรายงานโดยไม่ใช้เครื่องบันทึกข้อมูลของรถ อาจทำให้มีความผิดปกติในการเดินทาง หรือสร้างความสงสัย และ ยังอาจจะโดนกรมขนส่งตรวจสอบได้เช่นกัน โดยกรมขนส่งยังต้องเข้ามาตรวจสอบการรายงานการปลดหรือการถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถอีกด้วย เพื่อให้สามารถทราบถึงสาเหตุต่างในการถอดเครื่องจีพีเอสของรถบรรทุกนั้นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมขนส่งทางบก