538 จำนวนผู้เข้าชม |
แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการขนส่งควรมีการศึกษาข้อมูลของระบบติดตามยานพาหนะ(GPS Tracking System) ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเลือกใช้บริการของผู้ขายตามตลาดทั่ว ๆ ไปถึงระบบที่ใช้ว่าเป็นรูปแบบ GPS Tracking Off-Line หรือ แบบ GPS Tracking Real Timeโดยเฉพาะโปรแกรมควบคุมและแสดงผล GPS Tracking System เนื่องจากโปรแกรมควบคุมและแสดงผลมีความยากง่ายหรือความซับซ้อนของระบบที่แตกต่างกัน
ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมีการคํานึงว่าโปรแกรมควบคุมและแสดงผลนี้ทําให้เกิดเป็นอุปสรรค์ต่อการใช้งานของผู้ประกอบการหรือไม่มีคู่มือให้หรือไม่ มีการอบรมการใช้งานโปรแกรมควบคุมและแสดงผลให้กับผู้ประกอบการหรือไม่อย่างไร และฟังก์ชั่นของระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) ที่เป็นอุปกรณ์เสริมหรือฟังก์ชั่นเสริมขึ้นมา เช่น สามารถเช็คระยะทาง สามารถเช็คความเร็ว สามารถเช็คน้ำมัน เป็นต้น
ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผู้ประกอบการขนส่งที่มีขนาดเล็กในการนําระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) มาติดตั้งและมักจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายของตัวอุปกรณ์ค่าบริการหรือ Air Time ในราคาที่แพงขึ้นตามฟังก์ชั่นหรืออุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นมาจนมีคํากล่าวที่ว่า “จะติดตั้งระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) ไปทําไมเพราะมันไม่ได้ช่วยอะไรนอกจากการติดตามและแจ้งให้ทราบว่ารถหรือยานพาหนะอยู่ที่ไหนก็เท่านั้น แถมยังต้องเสียค่าใช้จ่ายกับตัวอุปกรณ์ และค่าบริการรายปีอีก”
แต่ในที่จริงแล้วได้มีการศึกษาความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ในการนําระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) ทดลองกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก โดยเป็นการศึกษาต้นทุนก่อนและหลังการนําระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) มาใช้ในธุรกิจบริการขนส่ง เพื่อทําการศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนทั้งก่อนและหลังการนําระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) มาใช้ โดยคํานึงถึงความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์
การลดต้นทุนทางด้านการบริหารจัดการ และต้นทุนด้านน้ํามันเชื้อเพลิงเป็นหลัก ซึ่งพบว่า สามารถช่วยในการลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าได้จริง โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดการวางแผนเรื่องของเส้นทางการขนส่ง การควบคุมพฤติกรรมของพนักงานขับรถ การควบคุมการติดเครื่องทิ้งไว้ในระยะเวลานาน ๆ และการโจรกรรมสินค้าระหว่างการขนส่งที่ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของสินค้าและน้ํามันเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนการขนส่งทางตรง
ระบบติดตามยานพาหนะในการขนส่งสินค้าปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่มีความสําคัญต่อภาคธุรกิจขนส่งสินค้าเนื่องจากสามารถทําให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถใช้ลดต้นทุนในกระบวนการขนส่งได้เป็นอย่างดี เช่น การลดการทุจริตของพนักงานขับรถที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การจัดการวางแผนเส้นทางการขนส่งซึ่งทําให้ผู้ประกอบการได้มีการเลือกใช้เส้นทางหรือหลบเลี่ยงเส้นทางที่ต้องใช้จํานวนพลังงานเชื้อเพลิงมากยิ่งขึ้น รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินกําหนดซึ่งส่งผลถึงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งคนและทรัพย์สินองค์กร
แต่อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการขนส่งควรมีการศึกษาข้อมูลของระบบติดตามยานพาหนะ(GPS Tracking System) ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเลือกใช้บริการของผู้ขายตามตลาดทั่ว ๆ ไปถึงระบบที่ใช้ว่าเป็นรูปแบบ GPS Tracking Off-Line หรือ แบบ GPS Tracking Real Timeโดยเฉพาะโปรแกรมควบคุมและแสดงผล GPS Tracking System เนื่องจากโปรแกรมควบคุมและแสดงผลมีความยากง่ายหรือความซับซ้อนของระบบที่แตกต่างกัน
ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมีการคํานึงว่าโปรแกรมควบคุมและแสดงผลนี้ทําให้เกิดเป็นอุปสรรค์ต่อการใช้งานของผู้ประกอบการหรือไม่มีคู่มือให้หรือไม่ มีการอบรมการใช้งานโปรแกรมควบคุมและแสดงผลให้กับผู้ประกอบการหรือไม่อย่างไร และฟังก์ชั่นของระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking System) ที่เป็นอุปกรณ์เสริมหรือฟังก์ชั่นเสริมขึ้นมา เช่น สามารถบันทึกภาพหรือเสียงในการขับขี่ของพนักงาน สามารถตรวจสอบการเบร็ค การเปิดไฟเลี้ยว เป็นต้น ซึ่งฟังก์ชั่นหรืออุปกรณ์เรานี้ต้องแรกมาด้วยค่าใช้จ่ายของตัวอุปกรณ์ ค่าบริการหรือ Air Time ในราคาที่แพงขึ้นตามฟังก์ชั่นหรืออุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นมา