เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
TH
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าของร้าน
จีพีเอสติดตามรถ
MDVR CCTV ติดรถ
กล้องติดรถยนต์
Anytek TH
XCAM
กล้องแอคชั่น
Action Camera Anytek
SMART HOME
Access Control
มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ติดต่อเรา
คำถามที่พบบ่อย
ลูกค้าของเรา
คู่มือการติดตั้ง GPS
ข้อตกลงและเงื่อนไข
เข้าใช้งาน GPS Tracking
1.GPS Tech
2.GPS Thaicar
3.GPS Tracksolid
4. GPS SmartTrack
5. GPS ONE
ข่าวสาร/บทความ
ข่าวสาร มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ข่าวสาร/กรมการขนส่งทางบก
ข่าวสาร/บทความ GPS
ข่าวสาร/บทความกล้องติดรถยนต์
ข่าวสาร/บทความระบบจัดการโลจิสติกส์
สมัครงาน
เพิ่มเติม
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
สินค้าของร้าน
จีพีเอสติดตามรถ
MDVR CCTV ติดรถ
กล้องติดรถยนต์
Anytek TH
XCAM
กล้องแอคชั่น
Action Camera Anytek
SMART HOME
Access Control
มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ติดต่อเรา
คำถามที่พบบ่อย
ลูกค้าของเรา
คู่มือการติดตั้ง GPS
ข้อตกลงและเงื่อนไข
เข้าใช้งาน GPS Tracking
1.GPS Tech
2.GPS Thaicar
3.GPS Tracksolid
4. GPS SmartTrack
5. GPS ONE
ข่าวสาร/บทความ
ข่าวสาร มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
ข่าวสาร/กรมการขนส่งทางบก
ข่าวสาร/บทความ GPS
ข่าวสาร/บทความกล้องติดรถยนต์
ข่าวสาร/บทความระบบจัดการโลจิสติกส์
สมัครงาน
เพิ่มเติม
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
TH
หน้าแรก
บทความทั้งหมด
gps
สิ่งที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์
สิ่งที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์
476 จำนวนผู้เข้าชม
|
สิ่งที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์
ภาษีรถ รถยนต์คือสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องชำระให้กับรัฐบาลปีละครั้ง ไม่สามารถขาดได้เพราะจะมีระวางค่าปรับเพิ่มเติมให้ต้องชำระได้
ภาษีรถยนต์คือสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องชำระให้กับรัฐบาลเป็นสิ่งที่จะต้องทำอย่างน้อยปีละครั้ง ไม่สามารถขาดได้เพราะจะมีระวางค่าปรับเพิ่มเติมให้ต้องชำระได้ และหากขาดการต่อภาษีติดต่อกันนาน 3 ปี เจ้าของรถก็จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกยกเลิกตามไปด้วย ซึ่งการขอทะเบียนรถยนต์ใหม่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยากอีกด้วย
ภาษีของรถยนต์จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่สามารถละเลยได้เลย โดยอัตราภาษีมีการกำหนดเอาไว้ใน พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 การกำหนดอัตราภาษีของรถยนต์จะพิจารณาตามความจุของกระบอกสูบ คิดเป็นหน่วยลูกบาศก์เมตร, ซีซี โดยมีอัตราภาษีตามขนาดของเครื่องยนต์ในส่วนของรถยนต์ส่วนบุคคลนั่งไม่เกิน 7 คนดังต่อไปนี้
ความจุกระบอกสูบที่ 600 ซีซีแรก อัตราภาษีอยู่ที่ซีซีละ 0.50 บาท
ความจุของกระบอกสูบ 601 – 1,800 ซีซี อัตราภาษีคิดที่ซีซีละ 1.50 บาท
ความจุของกระบอกสูบมากกว่า 1,800 ซีซีขึ้นไป อัตราภาษีคำนวณที่ซีซีละ 4.00 บาท แต่หากเป็นรถยนต์ที่ซื้อในนามของนิติบุคคลจะจัดเก็บในอัตราที่กำหนดนี้เพิ่มเป็นสองเท่า
กรณีที่รถจดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีของรถยนต์ กรณีปีที่ 6 ได้รับการลดหย่อนภาษี 10% ปีที่ 7 จะได้รับการลดหย่อนภาษี 20% ปีที่ 8 ได้รับการลดหย่อนภาษี 30% ปีที่ 9 ได้รับการลดหย่อนภาษี 40% ส่วนทะเบียนรถยนต์ปีที่ 10 ขึ้นไป ได้รับการลดหย่อนภาษี 50% เงินภาษีที่จ่ายไปทางรัฐบาลจะนำไปสร้างและปรับปรุงถนนหนทางต่าง ๆ ต่อไป และในกรณีที่รถยนต์อายุมากกว่า 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนจะต้องนำรถไปตรวจสภาพด้วยหน่วยงานที่ทางรัฐให้การรับรอง
การยื่นเรื่องภาษีรถยนต์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยาก เจ้าของรถยนต์สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ โดยใช้เวลาไม่นาน แต่ก็จำเป็นต้องเตรียมเอกสารหลักฐานที่จำเป็นตามทางกรมขนส่งกำหนดเอาไว้ดังนี้
หนังสือแสดงทะเบียนรถยนต์
หรือหากไม่มีสามารถใช้ใบแทนได้ ทะเบียนรถยนต์เป็นเอกสารสำคัญที่จะบอกให้ทราบว่ารถมีการขึ้นทะเบียนตั้งแต่เมื่อใด และจะมีการแสดงหลักฐานตรงตามป้ายทะเบียนรถยนต์ด้วยตัวเลขของถังรถยนต์ รถทุกคันที่วิ่งบนท้องถนนจะต้องมีการขึ้นทะเบียน เพื่อแสดงว่าเป็นรถที่มีสิทธิ์วิ่งตามที่กฎหมายกำหนด
และหากรถมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างการติดตั้งระบบพลังงานเชื้อเพลิงเป็นแก๊สธรรมชาติ เจ้าของรถจะต้องมีการจดแจ้งในเอกสารทะเบียนด้วย หรือในกรณีที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือเจ้าของจะต้องมีการระบุแก้ไขชื่อในทะเบียนรถทุกครั้ง ถือเป็นเอกสารสำคัญที่เจ้าของรถต้องใช้แสดงสิทธิตามกฎหมายทุกประการเลยทีเดียว
หลักฐานการทำประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือประกันภัยภาคสมัครใจ และประกันภัยภาคบังคับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเอกสารหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการจ่ายภาษีของรถยนต์นั้นก็คือประกันภัยตาม พ.ร.บ. เจ้าของรถจึงควรต่อประกันตาม พ.ร.บ.อยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในเวลาที่เสียภาษีรถยนต์
ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
เป็นหลักฐานการเสียภาษีของรถยนต์ที่จำเป็นต้องใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 คน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งเกิน 7 ที่นั่ง และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่ขึ้นทะเบียนรถยนต์มาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป รวมถึงรถจักรยานยนต์ที่ขึ้นทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป การตรวจสภาพรถยนต์นั้นจะต้องดำเนินการโดยกรมขนส่งหรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับการรับรองโดยกรมขนส่งซึ่งมีกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยในทุก ๆ ภูมิภาค
สามารถสังเกตได้จากป้าย ตรอ. ใช้เวลาในการตรวจสอบครั้งละประมาณ 1 – 2 นาที เมื่อตรวจสอบสภาพรถยนต์แล้วเสร็จยังสามารถขอจ่ายภาษีรถกับ ตรอ.ได้เลย แต่อาจมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติม การตรวจสอบสภาพรถยนต์จำเป็นต้องใช้เอกสารทะเบียนรถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสภาพรถยนต์ดังนี้รถยนต์ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) ค่าบริการคันละ 200 บาท
กรณีรถยนต์ที่น้ำหนักเกิน 2 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) ค่าบริการคันละ 300 บาท และกรณีรถจักรยานยนต์ คิดค่าบริการคันละ 60 บาท
และในกรณีที่การตรวจสภาพรถไม่ผ่านมาตรฐานของกรมขนส่ง เจ้าของรถต้องนำรถไปแก้ไขข้อบกพร่องให้เรียบร้อยก่อนกลับมาตรวจสภาพรถยนต์ใหม่ และหากสามารถนำรถกลับมาตรวจสอบสภาพใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน จะคิดค่าบริการการตรวจสภาพรถเพียง 50% ของราคาค่าตรวจสภาพรถตามปกติ
แต่ไม่สามารถนำรถมาตรวจสภาพซ้ำใหม่ได้ภายใน 15 วัน จะคิดอัตราค่าบริการการตรวจสภาพรถตามอัตราปกติ แต่ในกรณีที่เป็นรถยนต์ที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพเชื้อเพลิงแล้วจะต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ควบที่ใช้ในการติดตั้งแก๊สธรรมชาติไปพร้อม ๆ กันด้วย
ภาษีรถ
รถยนต์
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
คำถามที่พบได้
ตำแหน่งรถมีคำว่า LBS คืออะไร
GPS VL01
GPS T399
Powered by
MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว
และ
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด